fbpx
  • ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

  • 1
  • บทความสุขภาพ

  • 1

โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

Rate this item
(3 votes)

older

 

โรคข้อเสื่อมถือเป็นโรคที่พบบ่อย และสร้างปัญหาให้กับผู้สูงวัยในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น

สาเหตุของโรคข้อเสื่อมเกิดจากการใช้ของอวัยวะนั้นๆ เป้นเวลานาน การใช้งานอย่างหนัก และด้วยอายุที่มากขึ้นก็เป็นตัวแปร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูกเสื่อมซึ่งมักจะเกิดร่วมกับอาการข้ออักเสบด้วย

อาการในระยะแรกอาจมีการขัดหรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราวหากมีการอยู่นิ่งเป็นเวลานาน บางรายอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการเจ็บปวดบริเวณข้อเหล่านี้ อาจสัมพัน์กับการทำกิจกรรม เช่น การขึ้นลงบันได การออกกำลังกายหักโหม นั่งยองหรือนั่งแบบผิดสุขลักษณะ หากมีการอักเสบร่วมด้วยอาจจะมีอาการบวมแดง บริเวณข้อเข่า ข้อเท้า

การรักษาโรคข้อเข่าจะเน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บปวด และป้องกันการอักเสบควบคุมให้เกิดการอักเสบน้อยลง ไม่ให้ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ในการรักษาควรเป้นการทำกายภาพบำบัดข้อบริเวรนั้นควบคู่ไปกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวดข้อ ในกรณีที่มีอาการเสื่อมของข้อรุนแรง การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าก็สามารถทำได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายเป็นทางเลือกหนึ่งของการป้องกันและบรรเทาดรคข้อเสื่อม การลดน้ำหนัก หรือการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถือเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุด เพราะน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อม และทำให้การดำเนินโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น เนื่องจากข้อต่างๆ ของร่างกายต้องรับแรงมากกว่าปกติ การลดน้ำหนักจะทำให้อาการปวดข้อดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายที่เป็นแบบแอโรบิกช่วยทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ซึ่งจะเป้นประโยชน์มากกับข้อที่รับน้ำหนักโดยตรง

การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นๆ มีความแข็งแรง และช่วยผ่อนแรงกระแทกที่กระทบกับข้อโดยตรงแล้ว ยังช่วยทำให้ข้อสึกช้าลง หรือช่วยควบคุมแนวการรับน้ำหนักของข้อนั้นๆ ให้อยู่ในแนวที่ตรงขึ้น ทำให้ข้อรับน้ำหนักน้อยลง

 

รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

EDSI (Epidural steroid injection) การฉีดยารักษาอาการปวดหลัง EP.1

EDSI (Epidural steroid injection) การฉีดยารักษาอาการปวดหลัง EP.2

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยการส่องกล้องแผลเล็ก

Badreya, การผ่าตัดขยายโพรงประสาทโดยการส่องกล้อง

The Doctors : การผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อ โดยการส่องกล้อง