เดิมโรคมะเร็งเต้านมนั้นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของมะเร็งในหญิงไทยรองจากโรคมะเร็งปากมดลูก แต่เนื่องจากแนวโน้มของอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง โดยจากอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในหญิงไทยอยู่ที่ 20.5 รายต่อประชากร 100,000 คนในปีพ.ศ. 2542 เพิ่มขึ้นเป็น 26.4 รายต่อประชากร 100,000 คนในปี พ.ศ. 2552 ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา โรคมะเร็งเต้านมจึงกลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และล่าสุดสถิติสาธารณสุขของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ปี พ.ศ.2554 พบว่าหญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ 34,539 คน เสียชีวิต 2,724 คนเฉลี่ยถึงวันละ 7 คน จากจำนวนประชากรไทยกว่าครึ่งที่เป็นเพศหญิงคือ 32,546,885 คน ทำให้มะเร็งเต้านมถือเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 และในปัจจุบัน 3 จังหวัดที่มีอุบัติการณ์สูงสุดตามลำดับ คือ ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และระยอง โดยอยู่ที่ประมาณ 34 ถึง 40 รายต่อประชากรเพศหญิง 100,000 คน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทั้งหมดล้วนเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจและเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมหลายแห่ง
มะเร็งเต้านมพบได้ในคนอายุน้อยตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยมีช่วงอายุพบได้สูงสุดในหญิงอายุ 50 - 55 ปี แต่ในระยะหลังพบว่ามีผู้หญิงวัยรุ่นอายุน้อยก็สามารถป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้และความรุนแรงของโรคยังมากกว่าผู้ป่วยที่อายุมาก อาจจะอธิบายได้จากรูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนไปตามความเจริญของสังคมเมืองและอุตสาหกรรมจึงทำให้มีโอกาสสัมผัสสารก่อมะเร็งหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้มาก
ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่โรคมะเร็งเต้านมถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลกที่ทำให้สูญเสียชีวิตของประชากรและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 1.2 ล้านคนต่อปีทั่วโลกและในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป พบอุบัติการณ์สูงกว่าประเทศไทยหลายเท่า คือในผู้หญิงต่างชาติ 8 คนจะมีคนเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ 1 คน
-
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงว่ามีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ยกตัวอย่างเช่น
-
อาการและอาการแสดงที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่
-
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening)
-
ระยะของโรคมะเร็งเต้านม
-
การรักษามะเร็งเต้านม
การตรวจติดตามหลังการผ่าตัด
โรคมะเร็งเต้านมหลังจากรักษาไปแล้วพบว่ามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือกระจายไปอวัยวะต่างๆ มากที่สุดในช่วงเวลา 2 ปีแรกหลังจากผ่าตัดรักษาไป ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องมาตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะทุก 4-6 เดือนในช่วง 5 ปีแรกหลังจากนั้นก็ห่างออกเป็นปีละครั้งได้