fbpx
  • ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

  • 1

EMS Center

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลแรกที่ผ่านการรับรองเป็น “ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บประเทศไทยในระดับ 2” (Trauma Center Level 2) ที่ให้การบริบาลตติยภูมิครบวงจร (Comprehensive advance tertiary care) จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย มีทีมรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทีมแพทย์-พยาบาลเฉพาะทางให้คำปรึกษาและคำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมประสานงานส่งต่อผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อความพร้อมในการวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที มั่นใจตลอดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และพยาบาลชำนาญการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ขั้นสูงตามมาตรฐาน CAMTS & CAMTS EU

รับมือ...นาทีวิกฤตของชีวิต [Critical Time]
  • ทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย
    พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
  • ระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ
  • ระบบทางด่วนพิเศษ เพื่อดูแลแบบเร่งด่วนในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอุบัติเหตุฉุกเฉิน
มั่นใจ...ด้วยมาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับ 2 [Trauma Center Level 2]

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาได้การรับรอง “ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับ 2” ตรวจรับรองโดย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย [Royal College of Surgeons of Thailand] ซึ่งเป็นไปตาม "มาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย" เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ตามแผนพัฒนาคุณภาพระบบบริการสาธารณสุข (พบส.) เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2560 เป็นต้นไป)

CAMTS & CAMTS EUสร้างความเชื่อมั่นด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็น 1 ใน 13 โรงพยาบาล เครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านการรับรอง “มาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางบกระดับสากลประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป” CAMTS & CAMTS EU “Dual Transport Accreditation (The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems and The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems Europe) ภายใต้บริการ BDMS EMERGENCY SERVICES (BES)

bes bdms

เราตระหนักถึงความสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีมาตรฐานความปลอดภัยอย่างดีที่สุดตามแนวทางมาตรฐานระดับสากล ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน BLS ระดับสูง ALS ระดับวิกฤติ Critical Care และระดับที่ต้องได้รับการดูแลแบบพิเศษขั้นสูงสุด Specialty Care โดยมีการบูรณาการเพื่อการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติจากสถานที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอย่างปลอดภัย ในเวลาที่รวดเร็ว โดยไม่เกิดความผิดพลาดระหว่างการนำส่งผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ระยะทางการเคลื่อนย้าย สภาพร่างกายของผู้ป่วย อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ บุคคลากรทางการแพทย์ หรือแม้แต่ศูนย์รองรับผู้ป่วยต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมีมาตรฐาน CAMTS (The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems) สหรัฐอเมริกา และ CAMTS EU (The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems Europe) ยุโรป เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีความปลอดภัยสูงสุดที่ทั่วโลกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

การดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล [Pre-Hospital Life Support]

ระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง รวมถึงรถพยาบาลที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิตตามมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจาก JCI (Joint Commission International, USA) เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น

ระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย [Ambulance Services]
  • เรือพยาบาล [Hydrolance]

พัทซี [PatSea] เรือพยาบาลสมรรถนะสูง ขนาด 46 ฟุต พร้อมเตียงพยาบาลมาตรฐาน 2 เตียง และอุปกรณ์ช่วยชีวิตเต็มรูปแบบ เครื่องยนต์ Mercury 300 HP 3 เครื่อง แม่นยำด้วยระบบนำทาง GPS และอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย ระยะปฏิบัติการณ์สูงสุด 140 ไมล์ทะเล PatSea มีที่มาจากคำว่า “Pattaya Sea” หรือ “ท้องทะเลพัทยา” ช่วยเติมเต็มระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินทางทะเล

  • รถอภิบาลผู้ป่วยหนักเคลื่อนที่ [Mobile CCU/ ICU]

รถพยาบาลสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนัก ซึ่งเป็นรถพยาบาลที่ปรับแต่งเป็นพิเศษ มีอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างครบครัน เช่น เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์การให้สารน้ำทางเส้นเลือด เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ และยาที่จำเป็น พร้อมทั้งทีมแพทย์ และทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้การรักษาและทำหัตถการแก่ผู้ป่วยในรถได้ทันที ตั้งแต่รับผู้ป่วยและในขณะเคลื่อนย้ายจนถึงโรงพยาบาล

  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ [Helipad]

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ด้วยความพร้อมของลานจอดเฮลิคอปเตอร์ และห้องเตรียมผู้ป่วยสำหรับการเคลื่อนย้ายทางอากาศที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล สามารถเคลื่อนย้ายผู้ประสบอุบัติเหตุในสถานที่ห่างไกล มายังโรงพยาบาลได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทีมดูแลผู้ป่วยวิกฤต [Critical Care Team]
  • ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room: ER)

ทีม Emergency ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ทีมพยาบาลและบุคลากรเฉพาะทาง ที่ได้รับการฝึกฝนทางด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ ห้องฉุกเฉินขนาด 14 เตียง ห้อง CPR 1 เตียงและห้องหัตถการเล็ก 1 เตียง สามารถรองรับผู้ประสบอุบัติเหตุหมู่ได้อย่างเพียงพอ

  • ห้องผ่าตัด (Operating Room: OR)

ห้องผ่าตัดที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ช่วยในการผ่าตัด ทีมศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัด ห้องผ่าตัดที่ปลอดเชื้อ 100% ที่เน้นความสะอาดถึงระดับมาตรฐานสากล

  • ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Catheterization Unit: Cath Lab)

ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cath Lab คือ ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ใช้เพื่อวินิจฉัยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตีบตันของหลอดเลือด โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (Interventional Cardiologist) ภายใต้การควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาลระดับสากล พร้อมให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

  • หออภิบาลผู้ป่วยหนักหัวใจ (Cardiac Care Unit: CCU)

ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีภาวะวิกฤต ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากทางแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพิเศษในการติดตามอาการ และรักษาผู้ป่วยให้พ้นภาวะวิกฤต อย่างปลอดภัย

  • หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (Intensive care unit: ICU)

ดูแลผู้ป่วย ทั้งอายุรกรรม และศัลยกรรมที่มีภาวะวิกฤตตามระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต พร้อมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ระบบทางด่วนฉุกเฉิน [Pathway System]

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยามี 3 ระบบทางด่วนฉุกเฉินเพื่อรองรับนาทีวิกฤตของ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอุบัติเหตุฉุกเฉิน อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันเวลา ระบบทางด่วน สำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินขั้นวิกฤต  ที่จำเป็นต้องได้รับการประเมิน  การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วย พ้นภาวะวิกฤต และช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ

Trauma Fast track

ระบบทางด่วน สำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินขั้นวิกฤต ที่จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต และช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ

Chest pain Pathway

ระบบทางด่วนช่วยชีวิตผู้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ให้ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด โดยทีมแพทย์ พยาบาล และทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเวลาสั้นที่สุด คือโอกาสรอดสูงสุด

Stroke Pathway

ระบบทางด่วนสำหรับช่วยชีวิตและลดความพิการ ผู้มีอาการผิดปกติทางหลอดเลือดสมอง โดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญโรคทางสมองและระบบประสาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องแม่นยำ สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์

 

TRAUMA and EMERGENCY Center of Excellence

@BPH iRESCUE โรงเรียนโพธิสัมพันธ์

@BPH iRESCUE Bannrodfai