fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

First Aid - ปลอดภัย เรื่องใกล้ตัว ตอนที่ 2

Rate this item
(0 votes)

First Aid

     
 อุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา “สติ” และ”ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น” คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณใช้เวลาทุกวินาทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวหรือคนรอบๆตัวเรา ก่อนจะส่งถึงมือแพทย์  เพราะการช่วยเหลือที่ถูกต้องและรวดเร็วนั้นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นอย่างดี

      “First Aid - ปลอดภัย เรื่องใกล้ตัว” คอลัมน์สามัญประจำบ้าน ในสบายดีที่พัทยาสนับสนุนให้ทุกคนเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาล และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี

ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 

      รีบถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกออก  หากถูกสารเคมีต้องรีบล้างสารเคมีนั้นออกจากผิวหนังด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วที่สุด ถ้ามีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น วางประคบตรงบริเวณแผล หลังจากนั้นใช้ น้ำมันมะกอก หรือ วาสลิน ทาบนกอซปิดบริเวณแผล ถ้ามีอาการมากให้รีบนำส่งพบแพทย์โดยเร็ว

*ผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีอาการและอันตรายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับผิวหนังที่ถูกไหม้หรือลวก หากมีบาดแผลกว้างจะทำให้ติดเชื้อและมีโรคแทรกซ้อนได้

จมน้ำ

      หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจ ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น แล้วนำส่งโรงพยาบาลทุกรายเพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายโดยละเอียด

*การผายปอดโดยวิธีเป่าปาก หรือ การผายปอดโดยวิธีเป่าจมูก

      ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ ให้กดนวดหัวใจภายนอกด้วยอัตรา 100 ครั้ง/นาที โดยนับ 1 2 และ 3 จนถึง 15 ครั้ง แล้วเป่าปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันอย่างนี้ไปจนครบ 4 ครบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร และประเมินอีกทุก 1 นาที

ไฟฟ้าช็อต

      ปิดสวิตซ์ไฟหรือถอดปลั๊กไฟทันที ใช้วัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า เขี่ยสายไฟให้พ้นจากผู้ป่วย ตรวจดูการหายใจ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้เป่าปากช่วยหายใจทันที หากหัวใจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ให้นวดหัวใจพร้อมกันไปจนกว่าจะหายใจได้เอง รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

*หากไม่สามารถตัดไฟได้ จำเป็นต้องช่วยคนที่ถูกไฟฟ้าช็อตให้หลุดออกจากสายไฟฟ้าที่มีกระแสไฟวิ่งอยู่ โดยผู้ช่วยเหลือจะต้องยืนอยู่บนฉนวนแห้งๆ  ห้ามมิให้แตะต้องถูกตัวผู้ป่วยโดยตรง จนกว่าจะหลุดออกจากสายไฟเสียก่อน

รู้ไว้มีประโยชน์ เกิดเหตุเมื่อไหร่ ใช้ได้ทันที

logo1
รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว