มาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ ในด้านการดูแลรักษาและป้องกันผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และภาวะทุพพลภาพของประชากรในอันดับต้นๆ อันนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
จากหลักการที่ผู้บาดเจ็บวิกฤตต้องได้รับการดูแลรักษาโดยเร่งด่วน ด้วยบุคคลากรที่ทำงานร่วมกัน จากหลากหลายทีม ที่พร้อมด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความตั้งใจ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำ “มาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย” เพื่อพัฒนาระบบและคุณภาพของการดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่อไป
ระดับของศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ [Level of Trauma Center]
ระดับ 1 - เป็นสถานพยาบาลระดับจังหวัดหรือโรงเรียนแพทย์
- เป็นศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บระดับแม่ข่าย ให้การบริบาลตติยภูมิครบวงจร [Comprehensive advance-tertiary care] หรือเป็นโรงเรียนแพทย์
ระดับ 2 - เป็นสถานพยาบาลที่สามารถให้นิยามบริบาล [Definitive care] ใกล้เคียงกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 แต่ทำได้ไม่ซับซ้อนเท่า
- อยู่ในพื้นที่ประชากรหนาแน่น มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากและไม่มีศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 อยู่
- เป็นองค์กรผู้นำในการฝึกอบรมและพัฒนาระบบควบคุมป้องกันการบาดเจ็บในพื้นที่
ระดับ 3 - เป็นสถานพยาบาลในพื้นที่ซึ่งไม่มีศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2
- สามารถให้การบริบาลภายใต้มาตรฐานของสถาบันวิชาชีพ
- มีระบบประสานงานที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2
ระดับ 4 - เป็นสถานพยาบาลในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ห่างไกล
- มีเพียงแพทย์ทั่วไป ไม่ใช่ศัลยแพทย์ แต่สามารถให้การประคองชีพขั้นสูงก่อนส่งต่อ
- มีระบบประสานงานที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2
ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับ 2 แห่งแรกในประเทศไทย [1st Trauma Center Level 2]
โรงพยาบาลกรุงเทพัทยา เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้การรับรองเป็น “ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับ 2” ซึ่งตรวจรับรองโดย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย [The Thai Journal of Surgery] เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ตามแผนพัฒนาคุณภาพระบบบริการสาธารณสุข (พบส.) ประกอบอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2560 เป็นต้นไป)
ที่มาของมาตรฐานและความภาคภูมิใจ
- • โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ตั้งอยู่ในเมืองพัทยา เมืองท่องเที่ยวระดับโลกและเป็นพื้นที่ปกครองพิเศษที่มีประชากรหนาแน่น ในแต่ละปีมีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมากกว่า 1,200 ราย มีความพร้อมด้านบุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์
- เป็นสถานพยาบาลระดับนำ [Lead Hospital] การเรียนการสอน พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ [EMT-B] เพื่อสร้างเครือข่ายการบริบาลผู้บาดเจ็บตั้งแต่จุดเกิดเหตุ [Pre-hospital care] อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บมายังโรงพยาบาล
- มีศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาล [Full Time] เป็นผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุ
- มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศัลยแพทย์ และบุคลากรเฉพาะทางครบทุกสาขา มีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
- มีการพัฒนาด้านวิชาการให้กับบุคลากร และมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
- มีระบบการคัดแยกผู้ป่วย [Triage] ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่จุดเกิดเหตุและที่ห้องฉุกเฉิน