fbpx
  • ศูนย์หัวใจ

  • 1

Heart Center

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูแลด้วยแพทย์อายุรกรรมหัวใจที่เชี่ยวชาญการสวนหัวใจ แพทย์ผ่าตัดหัวใจพร้อมทีมงานที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนเป็นพิเศษในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ มีหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ CCU เราจึงพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครบวงจรนับตั้งแต่ การตรวจรักษาในระยะเริ่มต้นจนถึงการรักษาขั้นสูงที่มีความละเอียดซับซ้อน มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจที่จะให้การดูแลหลังผ่าตัดอย่างถูกวิธี โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทางโรคหัวใจ และทีมงานที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

ทดสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจของตัวท่าน

thai cv risk program

ยิ่งมาก ยิ่งเสี่ยง น้ำหนัก อายุ ไขมันในเลือด ความเครียด สูบบุหรี่ ความดันโลหิต เพราะโรคหัวใรคหัวใจเกิดขึ้นได้โดยคุณไม่รู้ตัว

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาทิ

  • อายุรแพทย์โรคหัวใจ
  • ศัลยแพทย์โรคหัวใจ
  • วิสัญญีแพทย์โรคหัวใจ
  • รังสีแพทย์ด้านโรคหัวใจ
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ และการออกกำลังกาย

ทีมพยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ประกอบกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากลและห้องปฏิบัติการต่างๆ อาทิ การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจ ห้องผ่าตัด ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ ตลอดจนระบบทางด่วนช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด (Chest Pain Pathway)

นอกจากการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยทีมแพทย์ผู้เชียวชาญ ด้วยอุปกรณ์ครบครันทันสมัยแล้ว ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ยังมีความพร้อมในการบริการที่ครบวงจร โดยให้บริการดังนี้

  • คลินิกตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ
  • มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ
  • คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • คลินิกตรวจเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • คลินิกความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • คลินิกบำบัดภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน
  • คลินิกศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด
  • คลินิกบำบัดหัวใจวาย
  • คลินิกลิ้นหัวใจ
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษภายนอกร่างกาย Non-invasive
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
  • การตรวจในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือด
  • หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ  (CCU)
  • หอพักผู้ป่วยโรคหัวใจและหอพักผู้ป่วยโรคหัวใจพิเศษ
  • ชมรมคนรักหัวใจ

บริการของศูนย์หัวใจ

1. บริการ Non invasive

เป็นการตรวจสภาวะหัวใจโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สัมผัสภายนอกร่างกาย ซึ่งศูนย์หัวใจกรุงเทพพัทยาสามารถให้บริการด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  (Electrocardiography, ECG) เพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น เช่น การเต้นของหัวใจผิดจังหวะภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว  ขนาดและผนังหัวใจผิดปกติ เป็นต้น
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test., EST) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากอัตราชีพจร ระดับความดันโลหิต และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บันทึกตลอดเวลา ขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้ผู้ป่วยเดินบนพื้นเลื่อนหรือสายพาน ซึ่งจะเพิ่มความเร็วและความชันของพื้นเลื่อนหรือสายพาน  หรือถีบจักรยานโดยผู้ป่วยจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นไปตามมาตรฐานของการทดสอบ ข้อมูลที่ได้จะบอกให้ทราบถึงสมรรถภาพการทำงานของร่างกายและหลอดเลือด ความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคล  เป็นต้น
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography, Echo)
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงก่อนและหลังออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiography)
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังได้รับยา (Dobutamine Echocardiography)
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (Trans Esophageal Echocardiography, TEE )
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Dynamic Electrocardiography / DCG / Holter Monitor) เป็นการบันทึกสภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่หยุด เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหาสาเหตุของอาการใจเต้นสั่น อาการวูบ
  • การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดง (Vascular  Screening) เป็นการตรวจหาความเสี่ยงของเส้นเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในอนาคต
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test) เป็นการตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของอาการหน้ามืด เป็นลม วิงเวียนศีรษะ อาการวูบว่าเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจหรือไม่
  • การตรวจหัวใจและหลอดเลือดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT scanner)

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (CARDIOVASCULAR MRI, CMR)

  • การตรวจความผิดปกติหัวใจของทารกในครรภ์ (Fetal Echocardiogram) คือ การตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดของทารกในครรภ์มารดา ช่วยให้ทราบว่าทารกในครรภ์มารดาเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแล้วยังสามารถทราบถึงความรุนแรงของความผิดปกตินั้นด้วย ทำให้สามารถวางแนวทางการรักษาได้ ซึ่งอาจให้การรักษาได้ทันที ในขณะยังตั้งครรภ์อยู่ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึงใกล้คลอด

การบริการทั้งหมดเป็นการบริการแบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลและดูแลโดยทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจเฉพาะทาง

2. บริการ INVASIVE PROCEDURES

เป็นการสวนหัวใจฉีดสี หรือใช้เครื่องมือ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาสภาวะหัวใจของผู้ป่วย ภายในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่ทันสมัย ประกอบด้วย

    • การตรวจในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือด แผนกห้องสวนหัวใจ (Catheterization Unit)

      ให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเกิดความผิดปกติของหลอดเลือด โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชื่ยวชาญ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (Interventional Cardiologist) พยาบาล เจ้าหน้าที่เทคนิคเชี่ยนและทีมสหสาขาวิชาชีพ ให้การดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้การควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาลระดับสากลพร้อมให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
    • การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) และการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ

      เป็นการตรวจลักษณะ และสภาวะของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันที่ไหน มากน้อยเพียงใด รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจที่ตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ ของโรคหัวใจโดยละเอียด
    • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบัลลูน และการดามด้วยขดลวด (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty หรือ PTCA & Stent)

      เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบัลลูน และ/หรือการใส่ขดลวดในผู้ป่วย ที่มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery) โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ของแพทย์พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญอย่างสูง
    • การผ่าตัดหัวใจ และหลอดเลือด (CARDIOTHORACIC Surgeries)

    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG : CORONARY ARTERY BYPASS GRAFTING)
      • การผ่าตัดหัวใจโดยไม่ใช้ปอดและหัวใจเทียม (OFF-PUMP CABG)
      • การผ่าตัดโดยใช้หลอดเลือดแดง (ALL ARTERIAL CONDUITS) และหลีกเลี่ยงการใช้หลอดเลือดดำที่ขา
      • การผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็ก และไม่มีแผลที่ขา (SMALL INCISION)
    • การรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาดโดยการผ่าตัดและดามด้วยขดลวด

    • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Radiofrequency Ablation)

      ใช้วิธีการโดยใส่สายสวนพิเศษเข้าไปในหัวใจและวางในตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ ต่อจากนั้นจะส่งคลื่นวิทยุเพื่อสร้างความร้อนผ่านทางสายสวนพิเศษเพื่อไปทำลายจุดกำเนิดที่ผิดปกตินั้นๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรับและแปลงสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้ แพทย์จะประเมินการนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ การรักษาด้วยวิธีนี้อาจใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง
    • การจี้ด้วยบอลลูนเย็นจัด (Cryoballoon Ablation)

      คือการใช้บอลลูนที่มีความเย็นจัดเข้าไปจี้บริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบหัวใจ ซึ่งดีกว่าแบบการจี้ด้วยความร้อน เนื่องจากการจี้แบบใช้ความร้อนอาจจะเกิดความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือผนังหัวใจทะลุได้ ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาเร็วกว่า เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น (การจี้ด้วยความร้อนแบบเดิมใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง) โดยการใช้วิธีจี้ด้วยบอลลูนเย็นนั้นให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง ซึ่งศูนย์หัวใจ รพ.กรุงเทพพัทยาเป็น รพ.เอกชนแห่งแรกในประเทศที่ได้นำวิธีการจี้ด้วยบอลลูนเย็นจัดมารักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วสั่นพริ้วไม่สม่ำเสมอ

3. เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO)

4. หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหอพักผู้ป่วยโรคหัวใจ (CARDIAC CARE UNIT/ CCU CARDIO WARD)

5. ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ (CARDIAC  REHABILITATION CENTER)

6. รถพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ (MOBILE CCU &CHEST PAIN CENTER)

Heart Center : Transcatheter Aortic Valve Implantation (TAVI)