หากแพทย์สงสัยว่าท่านอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือท่านแสดงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการทดสอบเพิ่มเช่น :
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจสามารถบอกถึงปัญหาบางอย่างได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด - การทดสอบหัวใจด้วยการเดินสายพาน (Stress Test)
เป็นการทดสอบ เพื่อตรวจดูว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่ - การตรวจโดยใช้คลื่นเสียง (Echocardiogram)
การตรวจโดยใช้คลื่นเสียง สามารถวัดขนาดห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจ และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ - การถ่ายภาพหลอดเลือดหัวใจ หรือการสวนหัวใจ (Coronary Angiography or Heart Catheterization)
หัตถการนี้ทำในห้องสวนหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสอดสายสวนเข้าสู่ร่างกายตรงเส้นเลือดแดงที่ต้นขาหรือแขน แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีผ่านเข้าไป เพื่อตรวจดูบริเวณที่มีการตีบตัน โดยการฉายเอ็กซเรย์ดูหลอดเลือด (Angiogram) - การตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Angiography, CTA)
จะมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในร่างกายขณะที่ทำการตรวจด้วยเครื่องดังกล่าว เพื่อทำให้เห็นภาพหลอดเลือด