fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คืออะไร?

Cardiac arrest

 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ ส่วนต่างๆของร่างกายอย่างทันที สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคหัวใจอยู่เดิมโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ทราบ หรือไม่เคยตรวจมาก่อน และถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในหนึ่งชั่วโมงหลังมีอาการ เราจะเรียกภาวะนี้ว่า “Sudden cardiac death” ซึ่งภาวะนี้เกิดได้กับใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้อง ป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวอื่นใดมาก่อน

“สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน”

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด หรือสาเหตุภายนอกที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นก็ได้ สำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมักเกิดจาก โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) ส่วนผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปีส่วนใหญ่เกิดจาก โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาชนิดไม่ทราบสาเหตุ (hypertrophic cardiomyopathy ) ซึ่งภาวะนี้การออกกำลังกายเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ก็ยังอาจเกิดจาก ภาวะเส้นเลือดหัวใจขาดเลือดในคนอายุน้อย (premature coronary artery disease ) หรือภาวะเส้นเลือดหัวใจผิดปกติโดยกำเนิด (congenital coronary artery anomalies) เช่น โรค Marfan’s syndrome ส่วนสาเหตุภายนอกที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เช่น ภาวะที่มีวัตถุกระแทก อย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าอก ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเฉียบพลัน หรือที่เรียกว่า commotio cordis นอกจากนี้ผู้ที่ใช้ยาโด๊ปเพื่อการแข่งขัน เช่นการใช้สาร anabolic-androgenic steroids ก็เป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้เช่นกัน

“ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน”

สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่พบบ่อยได้แก่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ฯลฯ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้ทราบ ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่า เรามีโรคเหล่านี้หรือไม่ และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคร่วมด้วย ส่วนผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปีนั้นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นหลัก เพื่อค้นหาว่า มีโรคความผิดปกติโดยกำเนิดหรือไม่ซึ่งอาจจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ก็ได้ และผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

ขอบคุณที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

 

รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

Heart Center : Transcatheter Aortic Valve Implantation (TAVI)