fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

โรคไข้เลือดออก

 

 

Dengue

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมีสาเหตุมาจากยุงลาย Aedes Aegypti ตัวเมียกัด เมื่อยุงกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสเดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะติดต่อไปยังคนอื่น แล้วนำเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเด็ก โรคนี้มักจะระบาดในฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบได้ตลอดทั้งปี

ชนิดของเชื้อเดงกี่

เชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) เป็น Single-Stranded RNA ไวรัสทีด้วยกัน 4 ชนิด (Serotype) DEN1, DEN2, DEN3, DEN4 ซึ่งมี Antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เมื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่งจะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่น หากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อเดงกี่ชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า การติดเชื้อซ้ำหรอืการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคเดงกี่รุนแรง ได้ถึงร้อยละ 80-90 ในปี 2543 พบว่า การระบาดของเชื้อเดงกี่เกิดจากสายพันธุ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธุ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธุ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูง เนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็นแล้วจะเกิดอาการรุนแรง

อาการไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข้สูง 2. ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก) 3. ระยะฟื้น
ไข้สูงลอย 2-7 วัน ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทั่วไปดีขึ้น
เบื่ออาหาร อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค ความดันดี
อาเจียน - กระสับกระส่าย ชีพจรปกติ
ปวดหัว - ชีพจรเต้นเร็ว ปัสสาวะออกมากขึ้น
ปวดท้อง บริเวณลิ้นปี่   ตับที่โตจะลดขนาดลง ภายใน 1-2 สัปดาห์
ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 เด็กมักซึมลง   เริ่มรับประทานอาหารได้
หน้าแดง ตัวแดง อาเจียนมาก มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลาย
อาจมีผื่น หรือจุดเลือด ออกตามผิวหนัง ปวดท้อง มือ และมีอาการคัน
60-90% ตรวจพบตับโต บางรายซึมมากขึ้น  
Tourniguet test ให้ผลบวก ปัสสาวะน้อย  
  อาจมีเลือดออกในกระเพาะ  
  ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน และได้รับการรักษาทันและถูกต้อง ระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชม. แล้วเข้าสู่ระยะที่ 3  

 

เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามตัว แขนขา อาจมีเลือดกำเดาออกหรือเลือดออกตามไรฟัน และการถ้ายอุจจาระดำ เนื่อง จากเลือดออกและอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลด แต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติ และเสียชีวิตได้

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
  • ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆที่มีน้ำขัง
  • ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก ไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
  • รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรืออนามัยจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้น ก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น

 

ที่มา : logo  ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว