ทำโดยเจาะช่องที่ผนังหน้าท้องตรงบริเวณสะดือให้เป็นช่องกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร เพื่อสอดกล้องขยายเข้าไปในช่องท้อง กล้องจะทำหน้าที่นำภาพอวัยวะในช่องท้องถ่ายทอดสดออกมาให้แพทย์ได้เห็นทางจอโทรทัศน์ จากนั้นแพทย์จะเจาะช่องที่ผนังหน้าท้องขนาดช่องละ 0.5 เซนติเมตร อีก 3-4 ช่อง เพื่อสอดใส่เครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษเข้าไปในช่องท้อง
หลังผ่าตัดเมื่อรู้สึกตัวดีและไม่คลื่นไส้อาเจียน สามารถรับประทานอาหารอ่อนและยาแก้ปวดธรรมดาได้ตามต้องการ เมื่อผู้ป่วยไม่เวียนศรีษะสามารถลุกเดินได้ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วันหลังการผ่าตัด
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
1. ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กแตกต่างจากการผ่าตัดด้วยวิธีเดิม ขนาดแผลที่เกิดขึ้นประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร รวม 3-4 แผลที่ผนังหน้าท้องน้อย
2. เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดจะมีน้อยกว่าวิธีเดิม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดชนิดแรง
3. ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ภายใน 1วันหลังการผ่าตัด สามารถปฏิบัติกิจวัตรส่วนตัวได้ด้วยตนเอง มีความสะดวกสบายมากขึ้นและสามารถออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้านได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ส่วนใหญ่พักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 1-3 วันหลังจากผ่าตัด
4. ไม่ต้องหยุดงานนานเหมือนกันวิธีเดิม ผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้านเพียง 1-2 สัปดาห์ สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ
5. การเกิดพังผืดและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดพบน้อยกว่าวิธีเดิม
ข้อด้อยของการผ่าตัดผ่านกล้อง
1. ไม่สามารถใช้การผ่าตัดชนิดนี้ได้กับผู้ป่วยทุกราย เช่น ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือก้อนที่อาจสงสัยว่าเป็นเนื้อร้าย หรือก้อนที่อาจสงสัยว่าเป็นเนื้อร้ายอาจจะไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องได้
2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น กระบังลมรั่ว โรคปอดหรือโรคหัวใจไม่สามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องได้
3. ผู้ป่วยมีพังผืดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคติดเชื้อในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดช่องท้องมาหลายครั้ง เป็นต้น
การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ได้แก่
- การผ่าตัดถุงน้ำดีช็อคโกแลต
- การผ่าตัดเนื้องงอกของรังไข่และปีกมดลูก
- การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านกล้อง
- การผ่าตัดมดลูกผ่านทางกล้อง
โรคที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง
- โรคที่ทำให้เกิดการปวดท้องเรื้อรัง
- โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
- โรคเนื้องอกหรือซีสต์ที่รังไข่หรือมดลูก
- ท้องนอกมดลูก
- การทำหมันแห้ง
- ภาวะมีบุตรยาก
- รอยโรคในโพรงมดลูก เช่น ติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อในโพรงมดลูก เช่น Endometrial polyp , submucous myoma
ผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจพบ เช่น
- การบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่น เช่น เส้นเลือดใหญ่ ,ลำไส้ใหญ่, กระเพาะปัสสาวะ
- มีอาการปวดไหล่หน่วงๆ คล้ายปวดเมื่อย เนื่องจากลมในช่องท้องไปดันกระบังลม อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดและจะหายกลับเป็นปกติภายใน 1 วันหลังผ่าตัด
*** ก่อนที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจเลือกรับการผ่าตัดชนิดใด ขอให้ทำการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนตัดสินใจรับการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดแต่ละชนิดย่อมมีความเสี่ยง