fbpx
  • ศูนย์แก้ไขสายตาด้วยเลสิกและซุปเปอร์ไซต์

  • 1

หากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จะมีการรักษาอย่างไร ?

มียาหลายชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม 

1 รับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ให้พอเพียง (Adequate Intake of Calcium and Vitamin D)

  • ผู้ชายอายุ 50-70ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มก.ต่อวัน 
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 51 ปีและ ผู้ชายอายุมากกว่า 71 ควรได้รับแคลเซียม 1200 มก.ต่อวัน 
  • ผู้ใหญ่ ควรได้รับวิตามินดี 800-1000 IU ต่อวัน 

2 ยาป้องกันการสลายกระดูก (Inhibitors of Bone resorption) ได้แก่ ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต(Bisphosphonate), ฮอร์โมนเพศหญิง(Estrogen/Progestin), SERMs(Raloxifene), Calcitonin

3 ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ (Stimulators of Bone formation)ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์(Teriparatide), Denosumab (Receptor Activator of Nuclear Factor kappa-B (RANK) Ligand (RANKL)/ RANKL Inhibitor)

4 ยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ วิตามินดี (Vitamin D), Strontium ranelate เป็นต้น

5 ระมัดระวังการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เพราะจะทำให้กระดูกหักได้  โดยแก้ไขภาวะต่างๆที่ผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุ เช่น 

  • แก้ไขภาวะความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า 
  • แก้ไขปัญหาสายตามัว (เช่น ต้อกระจก) 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ยากล่อมประสาท 
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น บันไดขึ้นลง แสงสว่าง ห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น

การดำเนินโรค

ถ้าหากได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจทำให้กระดูกหัก อาจทำให้เกิดความพิการได้

 

 

somchai lasik1

การเตรียมตัวก่อนทำเลสิก ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

somchai lasik2

ขั้นตอนการทำเลสิก ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

somchai lasik3

คำแนะหลังการผ่าตัด ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา