fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

การดูดไขมัน

liposuction

เป็นการใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายท่อยาวใส่เข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อดูดเอาไขมันส่วนเกินออกมาจากบริเวณต่างๆ เช่น หน้าท้อง สะโพก ก้น ต้นขา ต้นแขน คอ การดูดไขมันไม่สามารถลดความอ้วนทั่วร่างกายได้ แต่สามารถลดจำนวนไขมันบริเวณส่วนต่างๆ ที่สะสมอยู่เฉพาะที่ได้ ช่วยให้รูปร่างดูดีขึ้นและมีความรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ผู้ที่จะได้รับผลที่น่าพอใจจากการดูดไขมัน ควรจะไม่อ้วน ผิวหนังควรมีความยืดหยุ่นดี และมีไขมันสะสมเฉพาะที่ มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีจิตใจที่ปกติ แต่ก็ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ถึงผลข้างเคียงก่อนตัดสินใจ

ปัจจุบันโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา มีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการดูดไขมัน เรียกว่า “ Vaser Liposuction 2.2 (Def-Hi) ” เทคโนโลยีกำจัดไขมันเฉพาะจุด มาตรฐานสหรัฐอเมริกา ด้วยหลักการทำงานช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

  • ไม่เป็นอันตราย โดยการใช้คลื่นอัลตราโซนิคที่ช่วยแยกเนื้อเยื่อสำคัญออกจากเซลล์ไขมัน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ทำไม่ได้รับความเสียหาย จึงลดความเจ็บปวด บวม และรอยช้ำหลังทำ ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ผิวหนังคงสภาพเดิม ด้วยเทคโนโลยีหัวดูดไขมันกระจายคลื่นแบบคงที่ (Smooth Technology) เพิ่มประสิทธิภาพในการสลายไขมันในพื้นที่เล็ก และลดปัยหาผิวหนังเป็นคลื่นหลังทำ
การวางแผนผ่าตัด

ควรจะต้องปรึกษากับทีมศัลยแพทย์ตกแต่งถึงความเป็นไปได้ของผลการผ่าตัดที่คาดหวัง การเลือกการผ่าตัด ผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ศัลยแพทย์ควรเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งที่ได้รับวุฒิบัตรศัลยแพทย์ตกแต่งของแพทยสภาหรือเทียบเท่า ถ้าเป็นสถาบันจากต่างประเทศ

การดูแลหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัดประมาณ 2-5 วัน แพทย์จะเปิดผ้าพันแผล ประมาณ 5-7 วัน จะตัดไหมที่เย็บไว้ออก และสามารถกลับไปทำงานได้ หลังจากนั้นจะต้องพันผ้าในส่วนที่ดูดไขมันไว้อีกประมาณ 1-2 เดือน บริเวณที่ดูดไขมันจะมีรอยเขียว ช้ำ ประมาณ 1-2 อาทิตย์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การดูดไขมันก็เหมือนกับการผ่าตัดทั่วไปที่อาจจะมีผลแทรกซ้อนขึ้นมาได้ แต่ก็เกิดขึ้นไม่บ่อย เช่น การติดเชื้อ มีเลือดคั่ง ผิวหนังเป็นลูกคลื่น รอยแผลเป็นนูนหรือบุ๋ม ผิวหนังมีแผลและผิวหนังอาจจะเปลี่ยนสีได้บ้าง

มูลนิธิวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร ชี้โรคอ้วนทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดมากกว่าสูบบุหรี่ คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมที่นี่

 die07 thumb

รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว