fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

การนอนหลับผิดปกติ

apnea02

 

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่

นอนไม่หลับ, กรน, ฝันร้าย, ละเมอ, คันหรือเจ็บตามแขนขาเวลานอน, ปัสสาวะบ่อยกลางคืน, ตื่นไม่สดชื่น หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า, เพลีย ง่วงกลางวัน, สมาธิและความจำลดลง, ปวดศีรษะเรื้อรัง, อ้วน, ความดันโลหิตสูง, สมรรถภาพทางเพศลดลง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, หัวใจวาย, โรคหัวใจ

ถ้ามีอาการตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป คุณควรได้รับการตรวจเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและโอกาสของ

การนอนหลับผิดปกติ

อาการดังกล่าวสามารถเป็นผลสืบเนื่องจาก การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ รบกวนต่อการทำงานของสมอง หัวใจ หลอดเลือด การหายใจ ทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ การสืบพันธ์ ภูมิคุ้มกัน และการฟื้นฟูร่างกาย เป็นต้น

การจำแนกความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อยแบ่งเป็น

1. นอนไม่หลับ: แบ่งเป็นระยะที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานกว่า3สัปดาห์และ อาการนอนไม่หลับที่นานกว่า3สัปดาห์ ซึ่งมักมีสาเหตุที่ต่างกันออกไปทั้งทางกายและทางอารมณ์จิตใจ

2.หลับเยอะกว่าปกติ เช่น

- นาร์โคเลปซี หรือภาวะลมหลับมีอาการร่วมที่สำคัญ4 อาการได้แก่

  • ง่วงมากเกินปกติ
  • รู้สึกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ในขณะที่เริ่มรู้สึกตัวตื่น
  • รู้สึกหลอนช่วงเคลิ้มหลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันหากมีอารมณ์ขัน หัวเราะ หรือดีใจ โดยไม่หมดสติ

- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ หรือหายใจแผ่วลงขณะนอนหลับ เกิดซํ้าบ่อยๆ เนื่องจากทางเดินหายใจยุบตัวขณะหลับ

ผู้ป่วยอาจมีอาการและความผิดปกติอื่นร่วม ที่พบบ่อยได้แก่ กรนเสียงดังสะดุ้งตื่นกลางคืนหอบเหนื่อย กระสับกระส่าย ปากคอแห้งหลังตื่น เพลียกลางวัน ไม่มีสมาธิอารมณ์แปรปรวน เกิด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความจำเสื่อม ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลัน(SUDEP)ขณะหลับหากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบรุนแรง

- การแสดงพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ เช่น ฝัน, ละเมอ กรีดร้อง ละเมอเดิน, หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงชกต่อยทุบตีแม้ขณะกำลังหลับ

การวินิจฉัย

1. ตรวจการนอนหลับที่เรียกว่า Polysomnogram ในห้องตรวจ ซึ่งจะติดตามการทำงานของหลายระบบในร่างกายเช่น สมอง ระบบการหายใจ การเต้นของหัวใจปริมาณออกซิเจน ระบบการขยับของกล้ามเนื้อแขนขา และสามารถให้การรักษาได้ในคืนเดียวกัน สำหรับความผิดปกติบางอย่าง

2. ตรวจติดตามรูปแบบการนอนหลับเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง7-14วัน โดยการใส่นาฬิกา ActiWatch

ดังนั้น หากคุณมีภาวะผิดปกติดังกล่าว ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุและพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากการหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลต่อการเสื่อมและการทำงานที่บกพร่องของสภาพร่างกายโดยรวมได้

Read 11406 times
รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

แบบประเมินอาการปวดหัวที่ต้องพบแพทย์ทันที

redflag click

The Doctors : Stroke โรคหลอดเลือดสมอง..มหันตภัยใกล้ตัว

โรคเนื้องอกในสมอง

การสวนลากลิ่มเลือด : Stroke Pathway

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus) EP.1

The Doctors : โรคลมชัก