fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

นอนกรนผิดปกติหรือไม่

apnea

 

ใครจะเชื่อว่านอนกรนเป็นอาการแสดงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การกรนเกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นในช่องคอตีบ เมื่อหายใจผ่านช่องคอที่แคบ จึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรน แต่การตีบแคบของช่องคอ จะมีระดับความผิดปกติที่ต่างกันออกไป คนส่วนใหญ่กรน แต่มักจะบอกว่า “กรนปกติ” จริงแล้วกรนเป็นอาการที่แสดงถึงการหายใจผ่านช่องคอที่แคบ แต่ถ้าช่องคอแคบมากจะทำให้เสียงกรนเบาและหายเป็นระยะๆ ซึ่งจะพบในภาวะที่เรียกว่า ทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ หรือเรียกว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีความรุนแรงในระดับต่างๆกัน แต่ทั้งหมดจะมีผลให้คุณภาพการนอนแย่ลง เนื่องจากขณะหลับ ระบบร่างกายที่ควบคุมการหายใจ จะต่างจากขณะตื่น แต่ละครั้งที่หายใจ ทางเดินหายใจส่วนต้น จะมีการยุบหย่อนตัว หรือมีการอุดกั้นจากโครงสร้างในช่องคอเป็นระยะๆ เกิดเป็นเสียงกรน ที่ดังเบาสลับกันไม่แน่นอน มีโอกาสให้ไม่สามารถหายใจรับอากาศและปริมาณออกซิเจนได้ต่อเนื่อง สมองจะตื่นตัวเป็นระยะ เพื่อกระตุ้นให้ทางเดินหายใจส่วนต้นเปิด จึงทำให้สมองไม่สามารถเข้าสู่ระยะการหลับลึกได้ง่าย ระยะการหลับไม่ครบวงจร โอกาสการหลับลึกและหลับฝันน้อยลง การหลับลึกที่น้อย มีผลให้เกิดการเสื่อมสภาพของร่างกายโดยรวม โอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานผิดปกติ ปวดศีรษะ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ การเผาผลาญพลังงานผิดปกติ ภาวะอ้วน ระดับฮอร์โมนต่างๆไม่สมดุล ความสามารถของร่างกายในการปรับเปลี่ยนความดันโลหิต อาจมีอาการหน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ และความผิดปกติอีกหลายอย่าง ช่วงระหว่างวันเช่น ตื่นปากคอแห้ง ไม่สดชื่น ง่วงเพลียกลางวัน หรือต้องการงีบหลับกลางวันบ่อยๆ สภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับเช่น อ้วน เพศชาย หรือ หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเพศชายจากภายนอก รูปร่างโครงสร้างใบหน้าผิดปกติ คางเล็ก ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีต่อมทอลซิลหรืออดีนอยด์โต มีติ่งเนื้อหรือบางอย่างอุดตันในรูจมูก ลิ้นโต ลิ้นไก่ยาว แต่ในบางคนที่ผอม และโครงสร้างไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่เมื่อตรวจกลับพบความผิดปกตของการหายใจนี้และมีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ก็สามารถพบได้บ่อยๆ เพราะปัจจัยสำคัญของการเกิด ไม่ได้ขึ้นกับโครงสร้างอย่างเดียว แต่ขึ้นกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดช่องคอด้วย

จะทราบได้อย่างไรว่าการกรนมีสาเหตุจากอะไร หรือเรามีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ รุนแรงแค่ไหน สามารถทำได้โดย พบแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเรื่องการหลับ เพื่อตรวจร่างกาย และพิจารณาตรวจการนอนหลับเพิ่มเติมซึ่งจะใช้เวลาโดยทั่วไปคือหนึ่งคืน และจะสามารถให้การทดลองรักษาได้ในคืนที่ตรวจ ยกเว้นในบางกรณีที่ความผิดปกติที่พบไม่สามารถให้การรักษาได้ในคืนเดียวกับที่มาตรวจ จำเป็นต้องพบแพทย์หลังตรวจเพื่อวางแผนการดูแลรักษาเพิ่มเติม

หากใครรู้สึกว่าตัวเอง มีอาการใด ที่เข้าได้กับลักษณะดังกล่าวข้างต้น แนะนำให้รับการตรวจร่างกายกับแพทย์ที่ดูแลเรื่องการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้ถูกต้อง

Read 7605 times
รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

แบบประเมินอาการปวดหัวที่ต้องพบแพทย์ทันที

redflag click

The Doctors : Stroke โรคหลอดเลือดสมอง..มหันตภัยใกล้ตัว

โรคเนื้องอกในสมอง

การสวนลากลิ่มเลือด : Stroke Pathway

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus) EP.1

The Doctors : โรคลมชัก