fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

คุณปัสสาวะกลางคืนกี่ครั้ง ปัสสาวะกลางคืนผิดปกติหรือไม่ ปัสสาวะบ่อยแค่ไหน

apnea01


หลายคนต้องตื่นบ่อยเวลากลางคืนเพื่อปัสสาวะ ซึ่งแยกได้เป็น ปัสสาวะบ่อยกลางคืนที่ผิดปกติ หรือมีภาวะปัสสาวะรดที่นอน

ปกติการนอนสามารถเกิดได้ต่อเนื่อง 6-8 ชม. โดยที่ไม่ต้องลุกมาปัสสาวะเลย มีบางการศึกษาพบว่าการตื่นมาปัสสาวะตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สามารถทาให้เกิดอาการง่วงเพลียกลางวัน

สาเหตุของการปัสสาวะบ่อยกลางคืนเช่น มีปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะโดยตรง มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกต่อมลูกหมากหรือเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีปัญหาหูรูดกระเพาะปัสสาวะทางานไม่ดี รวมถึงเบาหวาน เบาจืดหรือโรคหัวใจ หรือแม้เต่การบริโภคคาเฟอีนก่อนนอน แต่สิ่งที่พบเป็นสาเหตุได้บ่อยมากกว่า แต่มักไม่ได้รับความสาคัญคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Sleep Apnea

 

spe01spe



Sleep apnea เป็นภาวะการหยุดหายใจ หรือมีการหายใจแผ่วเบาขณะหลับ ที่สืบเนื่องจากภาวะทางเดินหายใจส่วนต้นในช่องคอมีการยุบตัวระหว่างการหลับ เป็นเหตุให้ ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น เลือดดาจะไหลกลับเข้าหัวใจมากกว่าปกติ ร่างกายเกิดการเข้าใจผิดว่า ปริมาตรน้าในร่างกายเยอะเกินไป แต่แท้จริงแล้วปริมาตรน้าในร่างกายยังเท่าเดิม การรับรู้ที่ผิดไปนี้ จึงกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีที่มีผลต่อการทางานของไต ลดการดูดกลับของสารน้าและเกลือโซเดียมจากท่อไต ดังนั้นจึงทาให้มีปัสสาวะออกเป็นจานวนมาก

โดยสรุปคือ ในภาวะ sleep apnea ระบบประสาทและการสร้างสารเคมีที่มีผลต่อการผลิตปัสสาวะทางานผิดพลาด จึงทาให้มีการสร้างปัสสาวะออกมาจานวนมาก จนทำให้ต้องสะดุ้งตื่นเพื่อเข้าห้องน้ำกลางคืน แต่มีหลายการศึกษาพบว่า การรักษา sleep apnea โดยใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ช่วยลดปัญหาปัสสาวะบ่อยกลางคืนได้ เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ ช่วยให้การหายใจขณะหลับเป็นปกติ ความดันในช่องอกปกติ จึงไม่เกิดการทางานที่ผิดปกติของหัวใจ ระบบประสาท และการทางานของไต

ดังนั้น หากท่านตื่นเข้าห้องน้าบ่อยตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปต่อคืน ท่านอาจจาเป็นต้องรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเรื่องการนอนหลับ เพื่อพิจารณาตรวจการนอนหลับ (polysomnogram study) หาสาเหตุว่า ท่านมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ด้วยหรือไม่ และเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะหลับ เช่น หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น

Read 57519 times
รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

แบบประเมินอาการปวดหัวที่ต้องพบแพทย์ทันที

redflag click

The Doctors : Stroke โรคหลอดเลือดสมอง..มหันตภัยใกล้ตัว

โรคเนื้องอกในสมอง

การสวนลากลิ่มเลือด : Stroke Pathway

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus) EP.1

The Doctors : โรคลมชัก