fbpx
  • บทความสุขภาพ

  • 1

หลับอย่างไรให้เป็นสุขและชะลอวัย ในสถานการณ์โควิด-19

Sleepwatch

จากการระบาดของ โควิด-19 หลายคน ประสบกับเหตุการณ์ที่ปลอดจากงานมากขึ้น ความวุ่นวายจากงานที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ และกิจกรรมทางกาย ตลอดถึงคุณภาพและปริมาณการหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินระยะเวลาที่ควรจะเป็นในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลเสีย กระทบต่อสุขภาพโดยรวม

การหลับที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ทั้งระบบฮอร์โมน, การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ,ช่วยให้สมองและระบบประสาทมีการตอบสนองที่รวดเร็วและถูกต้อง ให้ร่างกาย ความคิด และอารมณ์สงบได้อย่างสมดุล และช่วยชะลอวัย

ขณะหลับ ในช่วง ระยะการหลับลึก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและส่วนสึกหรอจะได้รับการฟื้นฟู ระยะหลับฝัน ทักษะต่างๆจะได้รับการเปลี่ยนให้เป็นความจำระยะยาว รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การปรับแรงดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจ ก็จะได้รับการฝึกฝน บางคนที่ฝันน้อย หรือไม่ฝันเลย อาจเป็นสัญญาณเตือนความเสื่อมทางกายที่กำลังคืบคลานเข้ามา

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีตารางการหลับที่สม่ำเสมอและเหมาะสมตามวัย

  1. ในวัยผู้ใหญ่ ช่วงเวลาหลับควรอยู่ที่ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มเข้านอนในช่วงระหว่าง 22 นาฬิกาถึงเช้า หรืออาจหลับเร็วขึ้น หากจำเป็นต้องตื่นแต่เช้ามืด
  2. การตื่นเข้าห้องน้ำ ไม่ควรเกินหนึ่งครั้งต่อคืน
  3. ตื่นเช้าต้องสดชื่นไม่มึนไม่ง่วง ไม่ปวดหัว และสมสมพลังงานได้สำหรับทั้งวัน
  4. การงีบหลับระหว่างวัน สามารถทำได้แต่ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน ไม่ควรเกิน ครึ่งชั่วโมง และไม่เกิน 14 นาฬิกา เนื่องจากจะมีผลต่อความสามารถในการหลับเวลากลางคืน

แต่สำหรับผู้ที่มีเวลาหลับ หรือลักษณะการหลับ ไม่เป็นไปตามนี้ อย่านิ่งนอนใจ เพื่อให้มีความถูกต้องและเหมาะสมต่อสุขภาพ

หากต้องการคำปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการหลับยินดีให้คำแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพทางกาย และสภาวะทางอารมณ์ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพการหลับที่ลดลง

บทความโดย พญ.ณิรัชดา ทรัพย์อนันต์, ประสาทแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ
สอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท โทร. 0 3825 9999

Read 3588 times
รับคำแนะนำเพิ่มเติม
 

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

แบบประเมินอาการปวดหัวที่ต้องพบแพทย์ทันที

redflag click

The Doctors : Stroke โรคหลอดเลือดสมอง..มหันตภัยใกล้ตัว

โรคเนื้องอกในสมอง

การสวนลากลิ่มเลือด : Stroke Pathway

หลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่และแตก : Stroke เคสยากและซับซ้อน คนไข้กลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน

โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal Pressure Hydrocephalus) EP.1

The Doctors : โรคลมชัก