อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับ
- อ่อนเพลีย
- ไม่สามารถมีสมาธิกับการทำงาน, ความจำเปลี่ยนแปลง
- ความสามารถในการทำงานลดลง
- อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย
- ง่วงนอนเวลากลางวัน
- ขาดพลังในการใช้ชีวิตอ่อนเพลีย
- การเกิดอุบัติเหตุ
- กังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่เกิดขึ้น
อาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยการนอน (sleep hygiene)
- ปัจจัยทางร่างกาย เช่น อาการเจ็บปวด มีไข้ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) โรคกรดไหลย้อนหรือบางคนมีระบบประสาทที่ตื่นตัวมากกว่าปกติ ขากระตุกขณะหลับทำให้หลับยาก
- ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น มีเสียงรบกวน ห้องนอนสว่างเกินไป
- ปัจจัยอื่นๆ โดยการทำกิจกรรมต่างๆที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น กินอาหารที่ย่อยยาก ออกกำลังกายใกล้เวลานอน การเล่นเกม การอ่านหนังสือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน
ลักษณะอาการนอนไม่หลับ มีหลายประเภท ดังนี้
- ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
- นอนหลับแล้วตื่นบ่อยๆ (interrupted sleep)
- ใช้เวลานานกว่าจะหลับได้
- นอนหลับตื้นทำให้ฝันมากหรือฝันร้ายบ่อยๆ
ความเสี่ยงเกิดโรคจากการนอนไม่หลับ หรือ น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
- โรคมะเร็งลำไส้
- โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
- สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด อ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า สมาธิสั้น
อาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน การดูแลสุขภาวะการนอนหลับที่ดี นอกจากจะทำให้เรามีสมองและร่างกายที่สดใส สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้อีกมากมาย ลดภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต และทำให้เรามีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้