1. ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปีขึ้นไป
2. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
3. พบมากในคนอ้วน แต่ในคนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
4. อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40%
5. บุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจ เสียใจ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวในตอนแรก แล้วจะค่อยลดลง แต่ถ้าเกิดป่วยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวร ซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้
โรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของท่านในการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการเตือน การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อลดอัตราทุพพลภาพและอัตราตายซึ่งเกิดจากโรคแทรกซ้อนได้สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719
ดูบทความเต็มเรื่อง “โรคความดันโลหิตสูง” ได้ที่นี่