เป้าหมายของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมคือการลดความเจ็บปวดและฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม (ที่เรียกว่า "ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม") จะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ทางเลือกอื่นของ ผู้ป่วยที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมที่ถูก จำกัด ไว้เพียงส่วนหนึ่งของข้อเข่าอาจจะเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเพื่อทดแทนเข่า แบบบางส่วน(unicompartmental knee arthroplasty). หรือ การผ่าตัด ปรับมุมข้อเข่า ( High Tibial Osteotomy)
ในอดีตผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพียงบางส่วน และมีความจำเป็นต้องทำการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด มักนิยมผ่าตัดโดยการตัดต่อปรับมุมกระดูกบริเวณใต้ข้อเข่า(High Tibial Osteotomy) เพื่อแก้ไขความโก่งงอ ซึ่งวิธีนี้สามารถแก้ไขความเจ็บปวดได้ชั่วคราว แต่เนื่องจากไม่ได้แก้ไขความเสื่อมภายในข้อเข่า ผู้ป่วยจึงไม่สามารถลงน้ำหนักได้ทันที เนื่องจากต้องรอให้กระดูกที่ตัดต่อนั้นเชื่อมติดกันดีก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรือมากกว่า จึงไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมทั้งสองข้าง
ในปัจจุบันนี้ การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน unicompartmental knee arthroplasty เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมแบบบางส่วน แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน ถ้าโรคข้ออักเสบของผู้ป่วยจำกัดอยู่ในส่วนหนึ่งเดียวของข้อเข่า โดยปกติข้อเข่าจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหลักช่องตรงกลาง (ส่วนด้านในของหัวเข่า), ช่องด้านข้าง (ส่วนนอก) และช่องของลูกสะบ้า ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบบางส่วน unicompartmental มีเพียงช่องเสียหายจะถูกแทนที่ด้วยโลหะและพลาสติก ในส่วนกระดูกอ่อนที่ปกติดีและกระดูกในส่วนอื่นที่ปกติ จะยังคงคงสภาพเดิมไว้ ซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบทั่งข้อ
ข้อดีของการเปลี่ยนข้อเข่าบางส่วน
- การฟื้นตัวได้เร็วมาก
- ความเจ็บปวดน้อยหลังการผ่าตัด
- สูญเสียเลือดน้อย
นอกจากนี้เนื่องจากกระดูกกระดูกอ่อนและเส้นเอ็นในส่วนที่มีสุขภาพดีของเข่าจะถูกเก็บไว้เป็นปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน( unicompartmental ) ให้ความรู้สึกเป็น "ธรรมชาติ" กว่าการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบทั้งข้อ
การฟื้นตัว
เพราะการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วนจะทำผ่านที่มีขนาดเล็กแผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร และการบาดจ็บของเนื่อเยื่อน้อยมาก จึงทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลสั้น และกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ในเวลาเพียงประมาณ1 อาทิตย์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลังการผ่าตัดน้อย บวมน้อย และมีฟื้นตัวง่ายกว่าที่ผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งข้อ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านหลังจากผ่าตัดภายใน1-3 วัน
ผู้ป่วยสามารถจะเริ่มเดินลงน้ำหนักบนเข่าข้างที่ผ่าตัด ได้ทันทีหลังการผ่าตัด โดยอาจใช้ วอล์คเกอร์หรือไม้ค้ำช่วยในช่วงแรก หรือจนกว่าผู้ป่วยจะสามารถเดินได้คล่องตัวดี
ด้านการเล่นกีฬาหลังผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยสามารถกลับไปเล่นกีฬา เช่น ปั่นจักรยาน ตีกอล์ฟ ได้ดีกว่าเดิม ซึ่งทำให้สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย
ข้อจำกัด
- แม้การผ่าตัด UKA โดยอาศัยเทคนิคของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก จะมีข้อดีหลายประการ แต่มีข้อจำกัดบางประการด้วยเช่นกัน ได้แก่
- การผ่าตัดด้วยเทคนิคพิเศษนี้ทำได้ยากกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีเดิม จึงต้องทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญในการผ่าตัดด้วยเทคนิคใหม่นี้เท่านั้น
- การผ่าตัดด้วยเทคนิคพิเศษนี้ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ช่วยในการผ่าตัด เพื่อให้สามารถทำผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง และวางผิวข้อเทียมและกระดูกอ่อนเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของขนาดบาดแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมาก
- การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะที่จะทำผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีภาวะความเสื่อมมากในขั้นรุนแรง หรือมีภาวะความโก่งงอของข้อเข่ามากเกินไป
- ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง หรือมีน้ำหนักมาก อาจไม่เหมาะสมที่จะใช้วิธีผ่าตัดชนิดนี้
ในอดีตการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม มักแนะนำให้ทำในผู้ป่วยสูงอายุ โดยควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากผิวข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานจำกัด แต่สำหรับผิวข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 10-20 ปี ดังนั้น จึงมีการนำเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่นี้ไปใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง ระหว่าง 40-50 ปี โดยผู้ป่วยแม้จะสามารถกลับไปใช้งานข้อเข่าได้ใกล้เคียงปกติมาก แต่ต้องยอมรับว่ามีโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดแก้ไขในอนาคต หลังจากหมดอายุการใช้งานของข้อเทียม แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA สามารถผ่าตัดแก้ไขเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมดได้ และสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และได้ผลดีมากไม่ต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมในครั้งแรก ซึ่งมีอายุการใช้งานไปได้อีก 10-20 ปี