fbpx
  • ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

  • 1

การใช้กล้องส่องตรวจช่วยผู้ป่วยเมื่อแบตเตอรี่ชนิดกระดุมติดค้างในลำใส้

การกลืนแบตเตอรี่ลงไปในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่ มักไม่เกิดอันตราย โดยแบตเตอรี่กระดุมที่กลืนลงไปจะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ หลังจากการกลืน 3 วัน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการติดค้างของแบตเตอรี่กระดุมในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะหลอดอาหาร อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิต เพราะสารละลายต่างๆ ในแบตเตอรี่จะรั่วออกมา หรือประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในตัวแบตเตอรี่คายออกมาสู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นหรือจากการกดทับของตัวแบตเตอรี่ต่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้เกิดแผลเน่าตายของเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหาร เกิดการทะลุและเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้น ทำให้เสียชีวิตได้โดยเฉพาะมักพบกับแบตเตอรี่กระดุมที่ตกค้างอยู่ที่หลอดอาหาร เมื่อสงสัยว่า เด็กกลืนแบตเตอรี่กระดุมลงไปในระบบทางเดินอาหาร ต้องงดน้ำและอาหารทางปากทันที และห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนด้วยวิธีใดๆ ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อทำการเอกซเรย์ดูว่ามี แบตเตอรี่อยู่ในระบบทางเดินอาหารผู้ป่วยจริงหรือไม่ และอยู่ในตำแหน่งใด ถ้าพบว่าแบตเตอรี่ติดค้างอยู่ในหลอดอาหาร ควรรีบเอาออกทันทีโดยใช้กล้องส่องเข้าไปในหลอดอาหารแล้วคีบ ออกมาเนื่องจากแบตเตอรี่ที่ติดค้างในหลอดอาหารเพียงแค่ 2 ชั่วโมง ก็อาจทำให้หลอดอาหารทะลุได้ และมีอุปกรณ์ช่วยในการส่องกล้องกรณีแบตเตอรี่ในกระเพาะ

The Doctors : โรคมะเร็งตับ ตอนที่ 1

The Doctors : FibroScan

The Doctors : การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร H. Pylori นพ.สมโภช แซ่ลี้