fbpx

หากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จะมีการรักษาอย่างไร ?

มียาหลายชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม 

1 รับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ให้พอเพียง (Adequate Intake of Calcium and Vitamin D)

  • ผู้ชายอายุ 50-70ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มก.ต่อวัน 
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 51 ปีและ ผู้ชายอายุมากกว่า 71 ควรได้รับแคลเซียม 1200 มก.ต่อวัน 
  • ผู้ใหญ่ ควรได้รับวิตามินดี 800-1000 IU ต่อวัน 

2 ยาป้องกันการสลายกระดูก (Inhibitors of Bone resorption) ได้แก่ ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต(Bisphosphonate), ฮอร์โมนเพศหญิง(Estrogen/Progestin), SERMs(Raloxifene), Calcitonin

3 ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ (Stimulators of Bone formation)ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์(Teriparatide), Denosumab (Receptor Activator of Nuclear Factor kappa-B (RANK) Ligand (RANKL)/ RANKL Inhibitor)

4 ยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ วิตามินดี (Vitamin D), Strontium ranelate เป็นต้น

5 ระมัดระวังการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เพราะจะทำให้กระดูกหักได้  โดยแก้ไขภาวะต่างๆที่ผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุ เช่น 

  • แก้ไขภาวะความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า 
  • แก้ไขปัญหาสายตามัว (เช่น ต้อกระจก) 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ยากล่อมประสาท 
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น บันไดขึ้นลง แสงสว่าง ห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น

การดำเนินโรค

ถ้าหากได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจทำให้กระดูกหัก อาจทำให้เกิดความพิการได้